อัปเดตค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์
แบบ Cash Balance (Online) ปี 2566

อัปเดตค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์แบบ Cash Balance (Online) ปี 2566

“จะเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นที่โบรกเกอร์ไหนดี ?”

ยังคงเป็นอีกหนึ่งคำถามยอดฮิต ที่เพื่อนๆ นักลงทุนหน้าใหม่ ถามกันมาเรื่อยๆ ถึงแม้ในปัจจุบัน เราไม่จำเป็นต้องเดินไปที่สาขาธนาคาร หรือตามสาขาโบรกเกอร์ต่างๆ เพราะเพียงแค่คลิ๊ก แค่กรอกผ่านทางช่องออนไลน์ เราก็สามารถเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นได้แล้ว

.

แต่สิ่งที่นักลงทุน ให้ความสำคัญไม่เปลี่ยน นั่นคือ เรื่องของอัตราค่าธรรมเนียม หรือ ค่าคอมมิชชั่น (%Commission) ที่แต่ละโบรกเกอร์เรียกเก็บ

.

และยิ่งมาตรการ ที่จะมีการเก็บภาษีขายหุ้น 0.1% ที่คาดว่าจะเริ่มใช้ในช่วงเดือนเม.ย. ปี 2566 นี้ (โดยในปีแรกเก็บภาษีก่อนในอัตรา 0.055%) ซึ่งการเก็บภาษีครั้งนี้ จะมีการจัดเก็บเงินตั้งแต่บาทแรกไม่ว่าเราจะขายหุ้นได้กำไรหรือขาดทุนก็ตาม เช่น หากเรา

.

  • ขายหุ้น 100 บาท ก็จะเสียภาษี 0.055 บาท (ในปีแรก)
  • ขายหุ้น 1,000 บาท ก็จะเสียภาษี 0.55 บาท
  • ขายหุ้น 1 ล้านบาท ก็จะเสียภาษี 550 บาท
  • ส่วนปีต่อ ๆไปก็จะจัดเก็บที่ ล้านละ 1,000 บาท

.

ภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจากการขายหุ้นดังกล่าว ทำให้เป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ให้กับนักลงทุน โดยเฉพาะรายย่อยๆ อย่างเรา เพราะนอกจากที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหุ้นให้กับบรรดาโบรกเกอร์อยู่แล้ว จึงทำให้การหาโบรกเกอร์ที่เก็บค่าธรรมเนียมเริ่มต้นในการซื้อขายหุ้นถูกสุด จึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนรายย่อยต้องให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง

.

แล้วค่าธรรมเนียมขั้นต่ำสำคัญอย่างไร ?

ซึ่งค่าธรรมเนียมขั้นต่ำที่ส่วนใหญ่โบรกเกอร์คิดกันที่ 50 บาทต่อวัน โดยสำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ ที่ลงทุนไม่มาก ปริมาณการซื้อขายน้อยไม่เกิน 25,000 บาท แนะนำให้หาโบรกเกอร์ที่ไม่มีขั้นต่ำจะดีกว่ามาก เพราะสมมติเราเทรดวันหนึง 10,000 บาท ค่าธรรมเนียมที่โบรกฯ ทั่วไปคิดกันอยู่ที่ 0.157% (ยังไม่รวม VAT)

  • กรณีแรก เทรดกับโบรกฯ ที่ไม่มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ ก็จะเสียค่าธรรมเนียมตามมูลค่าการซื้อขายที่ 10,000 ละ 15.7 บาท และเมื่อรวม VAT 7% และภาษี จะอยู่ที่ราว ๆ 20 บาท
  • กรณีที่สอง เทรดกับโบรกฯ ที่มีขั้นต่ำ 50 บาท จากมูลค่าการเทรดของเราที่ 10,000 บาท แทนที่จะเสียค่าใช้จ่ายสุทธิ 20 บาท เรากลับต้องเสียค่าธรรมเนียมขั้นต่ำแทนที่ 50 บาท

เห็นไหมครับว่า ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ ทำให้เรามีต้นทุนการซื้อขายเพิ่มขึ้นมาประมาณ 2.5 เท่าเลยทีเดียว อันนี้ยังไม่รวมผลกระทบจากภาระภาษีจากการขายหุ้น ที่จะเพิ่มเข้ามาอีกในอนาคตนะครับ

.

แต่นอกจากเรื่อง ค่าธรรมเนียม ที่ถือเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกแรกๆ แล้ว ที่จริงยังมีสิ่งที่นักลงทุนมือใหม่ ต้องใส่ใจอีก 4 ข้อในการที่จะเลือกโบรกเกอร์ ด้วยคือ

.

  1. ความน่าเชื่อถือ :

ความน่าเชื่อถือของบริษัทเป็นสิ่งสำคัญ เพราะไม่ต่างกับเราเลือกธนาคารที่จะเก็บเงินของเรา ซึ่งโบรกเกอร์ที่ดี ต้องถูกกฎหมาย และมีโครงสร้างของบริษัทที่ชัดเจน เริ่มตั้งแต่ผู้บริหาร นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ อีกทั้งต้องมีระบบบริหารงานที่มีมาตรฐาน และที่สำคัญไม่เคยมีประวัติการกระทำที่ขัดต่อกฏหมาย

*ทั้ง 32 โบรกเกอร์ที่นำแสดงในครั้งนี้ ทั้งหมดเป็นสมาชิกกองทุนคุ้มครองผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ (Securities Investor Protection Fund – SIPF)

.

  1. บริการเสริม :

ปัจจุบันโบรกเกอร์ส่วนใหญ่ จะมีบริการเสริมเรื่องการฟีดข้อมูลข่าวต่างๆ ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจและการลงทุน ทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค นอกจากนั้นแต่ละโบรกเกอร์ก็จะมีบริการในเรื่องของบทวิเคราะห์หุ้นหรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ ด้วย แถมบางที่ยังมีจัดสัมมนาทั้งแบบห้องประชุมและแบบออนไลน์ ให้เราได้ศึกษาหาความรู้ในการลงทุนได้

.

  1. โปรแกรมซื้อขายหุ้น :

ส่วนใหญ่เกือบทุกโบรกเกอร์ในตอนนี้ จะใช้โปรแกรม หรือ แอพพลิเคชั่น Streaming Pro แต่อาจจะมีบางโบรกเกอร์ที่มีโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็มีเครื่องมือเสริมพิเศษ เพื่อที่ใช้ดูหุ้น หรือคัดกรองหุ้นจากอัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆ

.

  1. ความสะดวกรวดเร็ว :

อย่างที่บอกว่าตอนนี้เราสามารถเปิดบัญชีแบบออนไลน์ได้อย่างสะดวก แต่ก็เข้าใจว่านักลงทุนบางคนอาจจะยังรู้สึกไม่มั่นใจที่จะสมัครด้วยตัวเอง ฉะนั้น การเลือกโบรกเกอร์ที่มีสาขาใกล้บ้าน หรืออยู่ในห้างสรรพสินค้า (ส่วนใหญ่จะเป็นโบรคเกอร์ที่อยู่ในเครือของธนาคาร) ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมเช่นกัน นอกจากนี้ ความสะดวกยังรวมถึง การบริการตอบข้อซักถามอย่างทันท่วงที กรณีที่เกิดปัญหาระหว่างการใช้งานโปรแกรม หรือการซื้อขายหุ้น ตรงจุดนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

.

ตอนนี้เราก็รู้ถึง 4 สิ่งที่นักลงทุนต้องใส่ใจในการเลือกโบรกเกอร์ นอกเหนือจากการดูค่าคอมมิชชั่น โพสนี้จึงได้ทำการอัปเดตค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ ประจำปี 2566 ที่เป็นบัญชีแบบ Cash Balance* โดยซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น (เป็นค่าธรรมเนียมเริ่มต้น) เพราะน่าจะเป็นทางเลือกที่สะดวกและได้รับความนิยมมากสุด สำหรับมือใหม่ที่อยากจะเข้ามาในโลกของการลงทุน

.

(*บัญชี Cash Balance เป็นประเภทบัญชีที่เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่สุด ๆ เพราะด้วยข้อจำกัดที่เราต้องฝากเงินสดเข้าไปก่อน ถึงจะสามารถซื้อขายหุ้นได้ คล้ายระบบเติมเงินมือถือแบบ Pre-paid ทำให้นักลงทุนควบคุมงบประมาณการลงทุนได้ง่าย ไม่บุ่มบ่ามตามตลาดจนเกินไป ที่สำคัญยังสมัครง่าย โบรกเกอร์ก็อนุมัติให้แบบไว ๆ โดยไม่ต้องมีวงเงิน )

.

ซึ่งในโพสนี้ได้แบ่งบริษัทหลักทรัพย์ หรือโบรกเกอร์ ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

กลุ่มที่ 1 กลุ่มไม่มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ มี 21 โบรเกอร์

กลุ่มที่ 2 กลุ่มมีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ มี 11 โบรเกอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ขั้นต่ำ 50 บาท และ ขั้นต่ำ 30 บาท

.

🎯 กลุ่มที่ 1 กลุ่มไม่มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ

✅ %COM ถูกสุด มี 3 โบรกเกอร์

.

  1. LIB : บจก. หลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ (ซื้อขายผ่าน แอปพลิเคชัน เท่านั้น)

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.007% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ >

.

  1. ZCOM : บจก.หลักทรัพย์ จีเอ็มโอ-แซด คอม

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.072% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ >

.

  1. SBITO : บจก.หลักทรัพย์ เอสบีไอ ไทย ออนไลน์

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.082% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ >

.

✅ %COM = 0.157%

.

  1. ASP : บจก.หลักทรัพย์เอเซีย พลัส

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ >

.

  1. AWZ : บจก.หลักทรัพย์ เอเชีย เวลท์

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ >

.

  1. BLS : บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ >

.

  1. BYD : บมจ.บียอนด์ จำกัด (มหาชน)

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ >

.

  1. CGS-CIMB : บจก.หลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ >

.

  1. DBSV : บจก. หลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ >

.

  1. FINANSIA : บมจ.หลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ >

.

  1. KINGSFORD : บมจ. หลักทรัพย์ คิงส์ฟอร์ด

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ >

.

  1. KSS : บมจ.หลักทรัพย์ กรุงศรี

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ >

.

  1. DAOL SEC : บมจ. ดาโอ (ประเทศไทย)

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ >

.

  1. KTX : บมก.หลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ >

.

  1. PHILLIP : บมจ.หลักทรัพย์ ฟิลลิป

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ >

.

  1. PI : บจก. หลักทรัพย์ พาย

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ >

.

  1. INVX : บจก. หลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ > http://bit.ly/3vrzpzG

.

  1. TISCO : บจก.หลักทรัพย์ ทิสโก้

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ > http://bit.ly/2Q3OJCB

.

  1. TNS : บมจ.หลักทรัพย์ ธนชาต

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ > https://bit.ly/30MdEwk

.

  1. UOBKH : บมจ. หลักทรัพย์ ยูโอบีเคย์เฮียน

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ > https://bit.ly/3hM2bGr

.

  1. YUANTA : บจก.หลักทรัพย์ หยวนต้า

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และไม่มีขั้นต่ำ

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ > https://bit.ly/3lf4ceo

.

🎯 กลุ่มที่ 2 กลุ่มมีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ

✅ ขั้นต่ำ 50 บาท

.

  1. ASL : บมจ.หลักทรัพย์ เอเอสแอล

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.087% และมีขั้นต่ำ 50 บาท/วัน

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ > https://bit.ly/3ewFUKY

.

  1. AIRA : บมจ.หลักทรัพย์ ไอร่า

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และมีขั้นต่ำ 50 บาท/วัน

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ > https://bit.ly/3GUkcOq

.

  1. CNS : บมจ.หลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และมีขั้นต่ำ 50 บาท/วัน

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ >

.

  1. GLOBLEX : บจก.หลักทรัพย์ โกลเบล็ก

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และมีขั้นต่ำ 50 บาท/วัน

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ > https://bit.ly/3zeXuL8

.

  1. IVG : บมจ.หลักทรัพย์ ไอ วี โกลบอล

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และมีขั้นต่ำ 50 บาท/วัน

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ > https://bit.ly/2UXdrHj

.

  1. KGI : บมจ.หลักทรัพย์ เคจีไอ

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และมีขั้นต่ำ 50 บาท/วัน

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ > https://bit.ly/3cuRGnl

.

  1. KS : บมจ.หลักทรัพย์ กสิกรไทย

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และมีขั้นต่ำ 50 บาท/วัน

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ >

.

  1. MST : บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และมีขั้นต่ำ 50 บาท/วัน

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ > http://bit.ly/3cv96jE

.

  1. RHBS : บมจ.หลักทรัพย์ อาร์เอชบี

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และมีขั้นต่ำ 50 บาท/วัน

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ > https://bit.ly/3irznSK

.

  1. TRINITY : บจก.หลักทรัพย์ ทรีนีตี้

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.157% และมีขั้นต่ำ 50 บาท/วัน

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ > https://bit.ly/3exfW9X

.

✅ ขั้นต่ำ 30 บาท

.

  1. LHS : บมจ.หลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮาส์

โดยมีค่าธรรมนียม (ค่าคอมมิชชัน) เริ่มต้นที่ 0.164% และมีขั้นต่ำ 50 บาท/วัน

สมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ >

.
.

หมายเหตุ ❗❗❗

  1. %Com ที่แสดงจะรวมค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่ต้องนำส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  2. ค่าธรรมเนียมที่ต้องนำส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (0.007%) ประกอบด้วย

(1) ค่าธรรมเนียมตลาดหลักทรัพย์ฯ (Trading Fee) : บริษัทฯ จะเรียกเก็บเพื่อนำส่งตลาดหลักทรัพย์ฯ ในอัตราร้อยละ 0.005 ของมูลค่าการซื้อขายต่อวัน

(2) ค่าธรรมเนียมการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (Clearing Fee) : บริษัทฯ จะเรียกเก็บเพื่อนำส่งบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าการซื้อขายต่อวัน

(3) ค่าธรรมเนียมการกำกับดูแล (Regulatory Fee) : บริษัทฯ จะเรียกเก็บเพื่อนำส่งสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าการซื้อขายต่อวัน

  1. การใช้ค่าธรรมเนียมหรือค่าคอมมิชชัน เป็นอีกหนึ่งเกณฑ์ที่ใช้สำหรับเลือกโบรกเกอร์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังมีเกณฑ์อื่น ๆ ให้พิจารณาอย่างที่กล่าวไว้ในข้างต้น อีกทั้งแต่ละโบรกเกอร์อาจจะมีจุดดีจุดเด่นแตกต่างกัน ฉะนั้น นักลงทุนต้องศึกษาข้อมูล และสอบถามจากโบรกเกอร์ที่สนใจเพิ่มเติม
  2. โพสนี้เป็นการรวบรวบและอ้างอิงค่าธรรมเนียมจากเว็บไซต์โบรกเกอร์ในแต่ละโบรก ณ วันที่ 24 ม.ค.2566 ฉะนั้น รายละเอียดหรือค่าธรรมเนียมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต หรือถ้ามีความผิดพลาดประการใดต้องขออภัยครับ

.

#ค่าธรรมเนียม #โบรกเกอร์ #เปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ #ค่าคอมมิชชั่น #การลงทุน #iYomBizInspiration

.

สนใจข้อมูลธุรกิจ การเงิน การลงทุน เล่าให้ฟังเข้าใจง่ายๆ พร้อมทั้งแรงบันดาลใจดีๆ ในการสร้างฝัน ติดตาม iYom Biz+Inspiration ได้ที่

website : https://iyom-bizinspiration.com
facebook : https://www.facebook.com/iYomBizInspiration
youtube : https://www.youtube.com/c/iYomBizInspiration

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *