EP 9 : มือใหม่หัดวิเคราะห์งบ จาก 4 ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน

EP 9 : มือใหม่หัดวิเคราะห์งบ จาก 4 ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน

สำหรับ EP นี้ เลยอยากจะขอเปลี่ยนบรรยากาศจากการแนะนำหุ้นต่างๆ มาเป็นมาเล่า มาแชร์ความรู้ดี ๆ ที่เป็นเรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับการลงทุนให้ฟังกันบ้าง

.

และหนึ่งในเรื่องพื้นฐานการลงทุน ที่มีความสำคัญ ถ้าอยากจะลงทุนแบบเน้นปัจจัยพื้นฐาน นั่นคือ เรื่องงบการเงิน

.

ซึ่งผมว่าหลายคนที่ตามฟังผมอยู่โดยส่วนใหญ่ น่าจะมีพอร์ตหุ้น
หรือหลายคนมือใหม่อาจกำลังเล็ง ๆ ดูว่าจะเลือกซื้อเข้าพอร์ตสักตัวสองตัว

.

สำหรับคนที่มีหุ้นอยู่ในพอร์ตอยู่แล้ว ผมเชื่อว่าหลายคนอาจจะยังไม่เคยไปเปิดดูผลการดำเนินงานของบริษัทที่ประกาศเลยด้วยซ้ำ
หรือแม้กระทั่งมือใหม่ที่มัวแต่หาหุ้น แต่อาจจะไม่เคยไปเปิดดูผลการดำเนินงานของหุ้นนั้นก่อนลงทุน

.

เพราะแค่ได้ยินเรื่อง งบการเงิน ก็ดูเป็นเรื่องน่าปวดหัว สำหรับนักลงทุนมือใหม่ หรือแม้กระทั้งมือเก่าแต่ก็ยังไม่เคยไปเปิดดูสักที

.

ที่จริงผมก็เคยเป็นหนึ่งในนั้น ที่มีอาการแพ้ งบการเงิน ต่างๆ
และมักจะคิดว่าตัวเองไม่ได้จบมาทางด้านการเงินบัญชี ยังไงก็คงยากที่จะทำความเข้าใจ
ช่วงแรก ๆ ถึงกลับล้มเลิกไปเลยก็มีครับ

.

จำได้ว่าหุ้นตัวแรกที่ผมลงทุน เจ็งไม่เป็นท่า ขาดทุนเกือบครึ่ง
เนื่องจากความไม่รู้ เลยชื่อตามคำบอกของโบรก (ซึ่งไม่ใช่โบรกไม่ดีนะครับ ผมอยากจะโทษตัวเองมากกว่าที่ไม่หาความรู้ให้ดีๆ ก่อน)
หลังจากนั้นก็เหมือนจะหยุดพักไว้ก่อน

.

แต่สิ่งที่ทำให้ผมกลับมาเรียนรู้งบการเงินอย่างจริงจัง ส่วนหนึ่งเกิดจากความที่อยากจะลงทุน หรือพูดง่ายอยากรวยกับเขานั่นแหละ
แต่ครั้นจะวิ่งไล่ตาม ไล่ฟังกับคนอื่นเหมือนครั้งแรก คงไม่พ้นจบแบบเดิม

.

ประกอบกับจำได้ว่าช่วงนั้น ได้อ่านหนังสือ หุ้นห่านทองคำ ของคุณเทพ รุ่งธนาภิรมย์ ที่ถือว่าเป็นตัวกระตุ้นให้ผมหันมาสนใจและศึกษาเรื่องงบการเงิน เพื่อใช้เป็นหลักในการคัดเลือกหุ้นที่มีคุณภาพให้ได้นั่นเอง และนั่นจึงเป็นที่มาให้ผมศึกษาการอ่านงบ การวิคราะห์งบ ด้วยตัวเองอย่างจริงจัง

.


ซึ่งจากประสบการณ์ของผม นอกจากการฟังเรื่องราวธุรกิจหรือศึกษาจากการตามอ่านข่าวหุ้นที่เราสนใจแล้ว

.

งบการเงิน ถือเป็นอีกหนึ่งภาษาธุรกิจ ที่นักลงทุนควรทำความเข้าใจ เพราะสามารถสะท้อนถึงกลยุทธ์ การบริหาร ตลอดจนคำพูดของผู้บริหารได้อย่างชัดเจน

.

ขอเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน (Income Statement) ที่บอกถึง รายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไร ที่เป็นอีกหนึ่งงบ ที่นักลงทุนจะต้องเจอกับมันบ่อย ๆ และยิ่งช่วงที่เป็นการปิดงบประจำงวดของแต่ละบริษัทด้วยแล้ว (ที่ปีๆ หนึ่งจะมี 4 ครั้ง คือ งวดไตรมาสที่ 1 2 3 และงวดประจำปี)

.

ซึ่งสิ่งที่เรามักได้ยินก็จะเป็นในเรื่องของ รายได้ และกำไร เติบโตหรือลดลง เท่านั้นเท่านี้

.

แต่ตัวที่สะท้อนการดำเนินงานที่แท้จริง นั่นคือในเรื่องค่าใช้จ่ายของบริษัท
เพราะยิ่งเราคุมหรือจัดการค่าใช้จ่ายได้ดีเท่าไหร่ ความสามารถในการทำกำไรก็จะเพิ่มขึ้นได้โดยทันที

.

เพราะจากที่ผมนั่งอ่านงบในรอบครึ่งแรกของปี 2564 ที่ผ่านมาของหลายบริษัท พบว่า
กำไรสุทธิมีอัตราการเติบโตมากกว่ารายได้ ซะส่วนใหญ่ เนื่องจาก หลายบริษัทมีการจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในช่วงวิกฤตที่ดีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้ว

.
ทำให้รายได้โต ค่าใช้จ่ายไม่โตตาม ก็จะไหลไปเป็นกำไรที่มากขึ้น
หรือแม้กระทั่งรายได้ไม่โต แค่ค่าใช้จ่ายลด กำไรก็ยังเพิ่มขึ้นเช่นกัน

.

แล้วรายได้ล่ะ รายได้เพิ่ม ๆ ก็ย่อมดีไม่ใช่หรอ ?

ใช่ครับยังไงรายได้เพิ่มขึ้น ก็ย่อมดีแน่นอน แต่หลายธุรกิจมุ่งเน้นเติบโตโดยการเพิ่มรายได้
แต่ค่าใช้จ่ายกลับเพิ่มเป็นเงาตามตัว จนทำให้ความสามารถในการทำกำไรลดลง บางที่ถึงขั้นขาดทุนไปเลยก็มี แล้วแบบนี้มันจะดีจริงหรือครับ


คลิปนี้จึงจะมาเล่าค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทั้ง 4 ให้ฟังกันครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *