10 สินค้าโภคภัณฑ์ ราคาเปลี่ยนไปเท่าไหร่ในหนึ่งปี
สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) ???
.
ได้ยินแบบนี้ หลายคนอาจจะงง มันเกี่ยวอะไรกับฉันด้วยหรอ แต่สำหรับนักลงทุนปฏิเสธไม่ได้เลยว่า จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เพราะมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมในการลงทุน
.
ก่อนอื่นเรามารู้จักสินค้าโภคภัณฑ์กันก่อน ซึ่งคำว่าโภคภัณฑ์ในที่นี้จะให้ความหมายถึง สินค้าที่ไม่มีความแตกต่างกันเลย หรือเกือบจะมีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลกไม่ว่าใครจะเป็นผู้ผลิต ซึ่งราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ กำหนดโดยความต้องการ (Demand) และกำลังการผลิต (Supply) ของตลาดโลก ส่งผลให้ราคาสินค้าชนิดนี้มักมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก
.
โดยสินค้าโภคภัณฑ์ที่เรามักจะรู้จักกันและอยู่รอบตัวเรา ก็เช่น น้ำมัน ทองคำ ข้าว ยางพารา กาแฟ เป็นต้น
.
แล้วมันสำคัญกับนักลงทุนอย่างไร ต้องบอกว่าในทางตรง เราสามารถซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ เพื่อลงทุนเก็งกำไรผ่านสัญญาสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า (Commodities Futures) ในแต่ละผลิตภัณฑ์ในตลาดคล้ายลงทุนในหุ้น
.
แต่ในทางอ้อม สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนในบริษัทต่าง ๆ ในตลาด สินค้าโภคภัณฑ์โดยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าวัตถุดิบในการผลิต ที่จะมีผลต่อต้นทุนการผลิตของบริษัท เมื่อราคาสินค้าโภตภัณฑ์ดังกล่าวขึ้นลงตามราคาตลาดโลก ก็จะส่งผลถึงตัวกำไรของบริษัทฃแทบจะทันทีนั้นเอง
เช่น บริษัทผู้ผลิตถุงมือยาง ก็ย่อมได้รับผลกระทบจากราคายางในตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
.
โดยปกติสินค้าโภคภันฑ์จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
1. กลุ่ม Soft Comodities : จะเป็นพวกสินค้าทางการเกษตรต่าง ๆ เช่น ข้าว ยาง เมล็ดกาแฟ เนื้อสัตว์ หรือแม้กระทั่งที่กำลังเป็นที่สนใจอยู่ตอนนี้ ก็คือ กัญชาและกัญชง
2. กลุ่ม Hard Commodities : สินค้าประเภทวัตถุดิบต่าง ๆ ที่สกัดจากเหมือง เช่น ทองคำ เงิน ทองแดง เป็นต้น
3. กลุ่ม Energy Commodities : สินค้าวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตพลังงาน เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นต้น
.
เกริ่นมาซะยาว โพสนี้จะมาชวนดูกันว่า 10 สินค้าโภคภัณฑ์ ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างไร (เปรียบเทียบวันที่ 23/4/2564 กับวันที่ 23/4/2563)
.
1. น้ำมันดิบ (Crude Oil WTI)
โดยราคาน้ำมันดิบ ในรอบหนึ่งปีปรับตัวเพิ่มขึ้น 267% มาอยู่ที่ 62.14 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จาก 16.94 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
.
2. ทองคำ (Gold)
โดยราคาทองคำ ในรอบหนึ่งปีปรับตัวเพิ่มขึ้น 3% มาอยู่ที่ 1776.95 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ จาก 1727.95 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์
.
3. ถ่านหิน (Coal)
โดยราคาถ่านหิน ในรอบหนึ่งปีปรับตัวเพิ่มขึ้น 59% มาอยู่ที่ 88.02 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน จาก 55.45 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน
.
4. ทองแดง (Copper)
โดยราคาทองแดง ในรอบหนึ่งปีปรับตัวเพิ่มขึ้น 84% มาอยู่ที่ 4.338 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปอนด์ จาก 2.3615 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปอนด์
.
6. เงิน (Silver)
โดยราคาเงิน ในรอบหนึ่งปีปรับตัวเพิ่มขึ้น 71% มาอยู่ที่ 25.995 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ จาก 15.2 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์
.
5. เหล็ก (Steel Rebar)
โดยราคาเหล็ก ในรอบหนึ่งปีปรับตัวเพิ่มขึ้น 48% มาอยู่ที่ 5210 หยวนต่อตัน จาก 3512 หยวนต่อตัน
.
7. ยางธรรมชาติ (Natural Rubber)
โดยราคายางธรรมชาติ ในรอบหนึ่งปีปรับตัวเพิ่มขึ้น 59% มาอยู่ที่ 225 เยนต่อกิโลกรัม จาก 141.4 เยนต่อกิโลกรัม
.
8. ข้าว (Rice)
โดยราคาข้าว ในรอบหนึ่งปีปรับตัวลดลง 19% มาอยู่ที่ 13.43 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อฮันเดรดเวท จาก 16.61 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อฮันเดรดเวท
.
9. กาแฟ (Coffee)
โดยราคากาแฟ ในรอบหนึ่งปีปรับตัวเพิ่มขึ้น 29% มาอยู่ที่ 136 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปอนด์ จาก 105.2 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปอนด์
.
10. กัญชา (Canada cannabis spot index)
โดยราคากัญชา ในรอบหนึ่งปีปรับตัวลดลง 7% มาอยู่ที่ 5.75 ดอลลาร์แคนาดาต่อกรัม จาก 6.18 ดอลลาร์แคนาดาต่อกรัม
*จาก cannabis benchmark
.
.
หมายเหตุ
โพสนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการลงทุนเท่านั้น ไม่ได้ชี้นำว่าสินค้าตัวไหนน่าลงทุนกว่าตัวไหน หรือผลตอบแทนการลงทุนจะไม่เปลี่ยนไป เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้สนใจควรต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการลงทุนเสมอนะครับ
.
.
Reference
– www.tradingeconomics.com
– www.cannabisbenchmarks.com
.
.
สนใจข้อมูลธุรกิจ การเงิน การลงทุน เล่าให้ฟังเข้าใจง่ายๆ พร้อมทั้งแรงบันดาลใจดีๆ ในการสร้างฝัน ติดตาม iYom Biz+Inspiration ได้ที่
website : https://iyom-bizinspiration.com
facebook : https://www.facebook.com/iYomBizInspiration