วิเคราะห์หุ้นลิสซิ่ง รับหุ้น TIDLOR ด้วยคู่หูอัตราส่วนการเงิน PE และ ROE

จากโพสก่อนหน้า ที่เราได้ สำรวจอาณาจักร หุ้นในกุลุ่มลิสซิ่ง ต้อนรับหุ้นติดล้อ (TIDLOR) กันไปแล้ว
.
มาในโพสนี้เราจะมาลองวิเคราะห์หุ้นในกลุ่มนี้ ในแง่ของการลงทุน ด้วยคู่หูอัตราส่วนทางการเงินสองตัว คือ PE และ %ROE กันดูครับ
.
ก่อนอื่นขออธิบายอัตราส่วนทั้งสองตัวนี้ก่อน
.
PE (Price per Earning) หรือ อัตราส่วนกำไรต่อหุ้น ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่นักลงทุนน่าจะรู้จักกันดี ที่ใช้วัดความถูกความแพงของหุ้น แอดจึงไม่ขอลงรายละเอียดมากครับ ใครอยากทำความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับ PE ไปตามอ่านกันได้ที่ >
ROE (Return on Equity) หรือ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น สูตรก็คือเอากำไรสุทธิตั้ง หารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด (ไม่ต้องคำนวนเองเว็ป set มีให้ดูอยู่แล้ว)
ซึ่งความสำคัญของ ROE จะบอกว่า เงินที่บริษัทเก็บเอาไว้ (ทุน+กำไรสะสม) นั้น สามารถนำไปลงทุนให้งอกเงย ได้อัตราผลตอบแทนคืนกลับมาให้ผู้ถือหุ้นเท่าไหร่
ยกตัวอย่างง่าย ก็เหมือนเรามีเงิน 1,000 เอาเงินไปฝากออมทรัพย์ ได้ดอกเบี้ย 0.25% อีกนัยหนึ่งก็คือ ROE หรือเงิน 1,000 เราจะเอาไปลงทุนหุ้น ได้ผลตอบแทนเฉลี่ย ๆ ราว 10% ก็ถือว่าเป็น ROE เช่นกัน
เพราะฉะนั้น ROE ยิ่งสูงก็ยิ่งดี ซึ่งตัวเลขที่นักลงทุนชื่นชอบกัน จะอยู่ระหว่าง 12-15% (เฉลี่ย 3-5 ปี)
.
คำถามคือ ระหว่าง PE กับ ROE เราควรให้ความสำคัญกับอะไรมากกว่ากัน
โดยปกติหุ้นที่มีค่า ROE สูงมักจะมีค่า PE สูง เพราะหุันที่ให้ผลตอบแทนสูง คนก็แห่ซื้อกันทำให้ค่า PE ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่หุ้นที่ค่า ROE ต่ำก็มักมี PE ต่ำตาม เพราะธุรกิจกำลังสูญเสียความสามารถในการทำกำไรในระยะยาว คนคงไม่ต้องการหุ้นประเภทนี้
.
ROE จึงเป็นอัตราส่วนที่ค่อนข้างสำคัญกว่า เพราะบอกถึงความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ ที่สะท้อนมายังผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น
.
ดังนั้น เราควรให้น้ำหนักกับ ROE (สูงไว้ก่อน) เพราะเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าบริษัทที่เราสนใจลงทุนนั้น มีคุณภาพที่ดี แต่สิ่งที่ต้องระวังสำหรับการใช้ ROE คือ การใช้หนี้สิ้นเป็นตัวดันให้ ROE สูงขึ้น (Leverage) แทนที่จะเกิดจากกำไรของธุรกิจ
.
ทำให้ต้องพิจารณาอีกหนึ่งอัตราส่วนสำคัญ นั่นคือ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ที่มีสูตรคือ เอาส่วนของผู้ถือหุ้นตั้ง หารด้วยส่วนของหนี้สิน (ไม่ต้องคำนวนเองเช่นกัน ในเว็ป Set มีให้ดู) ซึ่งอัตราส่วนนี้ยิ่งน้อยจะยิ่งดี และสามารถใช้บ่งบอกความมีคุณภาพของ ROE ได้ เช่น
.
ถ้าหุ้นมี ROE สูง แต่ D/E ต่ำ บ่งบอกได้ว่า ROE สูงแบบมีคุณภาพ เพราะเกิดจากกำไรของธุรกิจเป็นสำคัญ
แต่ในทางกลับกันถ้า ROE สูง D/E สูง ก็บ่งบอกได้ว่า ROE ที่สูงนี้ เกิดจากการใช้หนี้สินเป็นตัวดันให้ ROE สูงขึ้นนั่นเอง (ถ้างง ไว้ครั้งหน้าจะทำโพสมาอธิบายให้ละเอียดอีกครั้งครับ)
.
กลับมาที่คู่หูสองอัตราส่วนข้างต้น ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า หุ้นที่ดีในแง่ของการลงทุน จะมี PE ต่ำๆ และ ROE สูงๆ ดังนั้น เรามาลองดูกันหน่อยว่า หุ้นในกลุ่มลิสซื่งในภาพที่รวมหุ้นเงินติดล้อ (TIDLOR) เข้ามาด้วยแล้วจะเป็นอย่างไรบ้าง
.
[ คำอธิบายกราฟ (Scatter Plot) โดยให้แนวนอน (แกน x) คือ PE และแนวตั้ง (แกน y) คือ%ROE และเส้นปะสีฟ้า คือค่าเฉลี่ยของทั้ง 13 หุ้น
โดยข้อสรุปจากกราฟ
หุ้นที่มีค่า PE ต่ำ ROE สูง กว่าค่าเฉลี่ย มี 5 บริษัท คือ SAWAD, AMANAH, THANI, S11 และ ASK
หุ้นที่มีค่า PE และ ROE สูงกว่าค่าเฉลี่ย มี 4 บริษัท คือ MTC, TIDLOR, SAK และ NCAP
หุ้นที่มีค่า PE สูง ROE ต่ำ กว่าค่าเฉลี่ย มี 2 บริษัท คือ MICRO และ ECL
หุ้นที่มีค่า PE และ ROE ต่ำ กว่าค่าเฉลี่ย มี 3 บริษัท คือ TK, ML และ PL
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า หุ้นที่ในมุมมองทางธุรกิจดี (กลยุทธ์ธุรกิจและการจัดการที่ดี) อีกทั้งยังเป็นหุ้นที่น่าลงทุนอยู่ (PE ต่ำ ROE สูง) มี 5 หุ้น คือ SAWAD, AMANAH, THANI, S11 และ ASK ]
.
แต่อย่างที่บอกว่าเมื่อดู ROE แล้วต้องดู D/E ประกอบด้วย ซึ่งจาก 5 หุ้นดังกล่าว
– ASK มี D/E สูงถึง 6.93 เท่า (สูงสุดในกลุ่ม)
– THANI มี D/E 3.48 เท่า
– AMANAH มี D/E 1.43 เท่า
– S11 มี D/E 1.28 เท่า
– SAWAD มี D/E 1.27 เท่า
.
โดยรายละเอียดอันดับการจัดเรียงดังนี้
. เรียงตามมูลค่าตลาด ณ วันที่ 19/4/2564
1. MTC 138,860 ล้านบาท
2. SAWAD 112,942 ล้านบาท
3. TIDLOR 38,089 ล้านบาท (มูลค่าการระดมทุนสูงสุดในครั้งนี้)
4. THANI 23,558 ล้านบาท
5. SAK 22,218 ล้านบาท
6. NCAP 11,700 ล้านบาท
7. MICRO 83,22 ล้านบาท
8. ASK 7,319 ล้านบาท
9. AMANAH 6,244 ล้านบาท
10. TK 5,100 ล้านบาท
11. S11 4,352 ล้านบาท
12. ECL 1,685 ล้านบาท
13. PL 1,503 ล้านบาท
14. ML 1,129 ล้านบาท
.
เรียงตาม PE ณ วันที่ 19/4/2564
1. MICRO 61.6 เท่า
2. NCAP 57.98 เท่า
3. SAK 39.54 เท่า
4. TIDLOR 35 เท่า (จากราคา IPO สูงสุดที่ 36.5 บาทต่อหุ้น)
5. ECL 27.33 เท่า
6. MTC 26.63 เท่า
7. SAWAD 25.05 เท่า
8. AMANAH 21.47 เท่า
9. PL 19.76 เท่า
10. TK 13.88 เท่า
11. THANI 12.67 เท่า
12. ML 11.44 เท่า
13. S11 8.86 เท่า
14. ASK 8.29 เท่า
.
เรียงตาม ROE จากผลการดำเนินงานปี 2563
1. MTC 28.45%
2. TIDLOR 22.9%
3. SAWAD 22.28%
4. THANI 20.12%
5. AMANAH 19.93%
6. S11 18.02%
7. ASK 15.92%
8. SAK 15.43%
9. NCAP 14.78%
10. MICRO 9.31%
11. TK 6.9%
12. ML 5.09%
13. ECL 3.39%
14. PL 2.52%
.
เรียงตาม DE จากผลการดำเนินงานปี 2563
1. ASK 6.93 เท่า
2. TIDLOR 3.5 เท่า
3. THANI 3.48 เท่า
4. PL 3 เท่า
5. MTC 2.73 เท่า
6. ECL 2.41 เท่า
7. NCAP 1.78 เท่า
8. AMANAH 1.43 เท่า
9. S11 1.28 เท่า
10. SAWAD 1.27 เท่า
11. ML 1.08 เท่า
12. SAK 0.95 เท่า
13. MICRO 0.51 เท่า
14. TK 0.37 เท่า
.
หมายเหตุ
1. โพสนี้จัดทำขึ้นโดยใช้อัตราส่วนทางการเงินในรอบปีปัจจุบันเท่านั้น ผู้สนใจศึกษาเพิ่มเติมควรใช้ ย้อนหลัง 3-5 ปี
2. โพสนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการลงทุนเท่านั้น ไม่ได้ชี้นำว่าบริษัทไหนน่าลงทุนกว่าบริษัทไหน หรือผลตอบแทนการลงทุนจะไม่เปลี่ยนไป เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้สนใจควรต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการลงทุนเสมอนะครับ
.
.
Reference
– https://www.set.or.th /
.
สนใจข้อมูลธุรกิจ การเงิน การลงทุน เล่าให้ฟังเข้าใจง่ายๆ พร้อมทั้งแรงบันดาลใจดีๆ ในการสร้างฝัน ติดตาม iYom Biz+Inspiration ได้ที่
website : https://iyom-bizinspiration.com
facebook : https://www.facebook.com/iYomBizInspiration